กระชายพลัส: 5 วิธีเลือกอาหารเสริมให้เหมาะกับเราหลายคนคงรู้แล้วว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อสุขภาพ คือ โภชนาการและอาหารที่กินทุกมื้อ แต่ในเมื่อชีวิตเรายังคงต้องเร่งรีบทำงาน รวมถึงมีกิจกรรมอื่นๆให้ทำอีกมากมาย การเลือกกินให้ถูกหลักโภชนาการ ได้รับสารอาหารครบถ้วนทุกมื้อ ก็ทำได้ยากเสียเหลือเกิน พอศึกษาหาผลิตภัณฑ์สารอาหาร อาหารเสริมต่างๆ ก็มีมากมายจนเลือกไม่ถูก ดังนั้น เราจึงสรุปเกณฑ์ง่ายๆมาช่วยให้ทุกคนสามารถเลือก Smart Nutrients ได้อย่างคุ้มค่า มาฝากกัน
1. เลือกกินตามความต้องการ
เนื่องจากคนแต่ละกลุ่มมีความต้องการสารอาหารที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงปริมาณที่ไม่เท่ากัน ก่อนที่จะเลือกสารอาหารใด ๆ จึงควรคำนึงถึง เพศ อายุ อาหารที่กิน lifestyle ที่ใช้ ความต้องการดูแลสุขภาพด้านใดเป็นพิเศษ และปัญหาสุขภาพด้วยนะคะ
เช่น ผู้สูงอายุหรือคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ควรได้รับแคลเซียมและวิตามินดีผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ควรได้รับ โคเอนไซม์คิวเท็น (CoQ10) ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ควรได้รับใยอาหาร Prebiotic และจุลินทรีย์ดี Probiotic ที่เหมาะสม หรือผู้ที่ต้องการ ดูแลให้สุขภาพแข็งแรงโดยรวม สามารถรับประทานวิตามินซี และสารแอนตี้ ออกซิแดนซ์ (Antioxidant) เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ค่ะ เลือกกินให้ถูกตามความต้องการ จะได้รับสารอาหารที่เหมาะสม และคุ้มค่า
2. บริษัทผู้ผลิตน่าเชื่อถือ ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง
โดยเฉพาะการได้รับการรับรองจากองค์กรกลางที่น่าเชื่อถือ และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) Food and Drug Administration ( FDA ) จากประเทศที่น่าเชื่อถือ รวมถึงในปัจจุบันมีสารอาหารเกรดยา ที่เรียกว่า Nutraceutical บางผลิตภัณฑ์สามารถเข้าไปอยู่ในตำราอ้างอิงทางการแพทย์ เช่น Physicians’ Desk Reference (PDR) หรือ Monthly Index of Medical Specialities (MIMS) จะยิ่งมีความน่าเชื่อถือขึ้นไปอีกค่ะและสำหรับท่านที่ต้องการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่รับประทานอยู่หรือกำลังจะซื้อ สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตามลิงค์นี้ต่อไปนี้ได้นะคะสำนักงานอาหารและยา นำเลขอย.ที่ระบุในผลิตภัณฑ์ไปค้นหาในเว็บนี้
http://pca.fda.moph.go.th/servicePDR ค้นหาโดยใช้ชื่อบริษัท หรือชื่อผลิตภัณฑ์ในเว็บ
https://pdr.net/ ได้เลยค่ะ
3. พิจารณาความปลอดภัย
ทั้งความปลอดภัยส่วนบุคคล อย่างการแพ้อาหารบางชนิด เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คือการสกัดสารอาหารสำคัญจากอาหารแต่ละชนิด ถ้าใครแพ้อาหารเหล่านั้นก็ควรหลีกเลี่ยงสารอาหารกลุ่มนั้นด้วยนะคะ เช่น ถ้าแพ้โปรตีนเคซีนในนม แต่ต้องการรับประทาน โปรตีน เพิ่มเสริม สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ท่านควรเลือกรับประทานโปรตีนจากถั่วเหลือง หรือเวย์โปรตีนที่สกัดเคซีน ออกแล้วแทนอีกทั้งสมุนไพรส่วนใหญ่ จะมีทั้งส่วนที่เป็นประโยชน์ และส่วนที่ไม่มีประโยชน์หรือแม้กระทั่งมีโทษ ถ้าเทคโนโลยีการผลิตไม่สามารถสกัดเฉพาะสารสำคัญที่มีประโยชน์ออกมาได้ อาจทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบางชนิดยังคงมีสารพิษเจือปน หรือ สารอื่นๆที่ไม่มีประโยชน์อยู่มาก เกิดการสะสมและเป็นอันตรายต่อร่างกาย นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้บางคนที่กินอาหารเสริมที่มีสารปนเปื้อน มีค่าความผิดปกติที่ตับ ไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่กำจัดของเสียของร่างกายเราค่ะ หลายท่านอาจจะสงสัยอีกว่า แล้วเราจะตรวจสอบได้อย่างไรว่า บริษัทใดมีเทคโนโลยีการผลิตที่ สามารถสกัดสารพิษอันตรายออกไปได้ ผลิตภัณฑ์ใดปลอดภัยและไม่มีสารปนเปื้อน นี่เป็นหน้าที่หลักขององค์กรกลาง ที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์เลยค่ะ ด้วยเหตุผลนี้ การรับรองผลิตภัณฑ์จากองค์กรกลางที่มีความน่าเชื่อถือตามข้อ 2 จึงสำคัญมากค่ะ ดังนั้นก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดใด ควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์นั้นก่อนนะคะ
4. ปริมาณและความเข้มข้นของสารสำคัญที่มีประโยชน์
โดยทั่วไปในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดต่างๆ มักมีส่วนประกอบคือ สารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อ ร่างกาย และส่วนประกอบ อื่นๆ ดังนั้น ปริมาณโดยรวม ไม่ได้เป็นเกณฑ์บอกว่าเราจะได้รับสารอาหารมากหรือน้อย บางผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กกว่า แต่มีสาร สำคัญมากกว่า จะถือว่าได้รับประโยชน์ มากกว่าเช่น การเลือกรับประทาน ไขมันปลาโอเมก้า 3 (Omega3) สารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาท และหลอดเลือดของเราคือ EPA และ DHA ดังนั้นให้ท่านเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์โอเมก้า 3 ต่างๆด้วยการพิจารณาที่ปริมาณสาร 2 ชนิดนี้แทนนะคะ จะได้เลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีประ โยชน์และคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
5. รูปแบบของสารอาหาร การดูดซึมนำไปใช้ของร่างกาย
สารอาหารสามารถแยกได้หลักๆ 2 แบบคือ สารอาหารแบบสกัด และสารอาหารสังเคราะห์
สารอาหารแบบสกัด คือกระบวนการผลิตที่สกัด สารอาหารที่มีประโยชน์ออกมาจากพืชหรือสัตว์ตามธรรมชาติ
ส่วนการสังเคราะห์นั้น เกิดจากการที่นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้โครงสร้างของสารอาหารต่าง ๆ รวมถึงกระบวนการดูดซึมและการนำไปใช้ของร่างกาย แล้วสร้างสารนั้นขึ้นมาจากสารเคมี อื่น ๆ แม้จะเป็นสารอาหารที่มีการดูดซึมนำไปใช้คล้ายกัน แต่วิธีการผลิตไม่เหมือนกัน อาจให้ผลกระทบต่อร่างกายต่างกัน
ดังนั้น แนะนำให้เลือกเป็นสารอาหารประเภทสารสกัด จะมีความปลอดภัยมากกว่า ส่วนในด้านการดูดซึมนำไปใช้ หรือที่เรียกว่า Bioavailability สารอาหารที่กินอยู่จะไม่มีประ โยชน์เลย ถ้าร่างกายไม่สามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ จริงไหม
ปัจจัยนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาเช่นกัน สารอาหารแต่ละชนิดอาจอยู่ในหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ต่างกัน เช่น แคลเซียม (Calcium) ที่อยู่ในรูปแบบคีเลตกับกรดอะมิโน ร่างกายจะดูดซึมนำไปใช้ได้ดีกว่า แคลเซียม คาร์บอเนต หรือแคลเซียมเม็ดฟู่