จัดฟันบางนา: หลายท่านอาจไม่ทราบ ความเป็นไปได้ “การปลูกถ่ายกระดูก” เพื่อฝังรากฟันเทียมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การทำฟันปลอมถือได้ว่าอยู่คู่กับการรักษาทางทันตกรรมมาโดยตลอด และได้มีการวิเคราะห์ วิจัยพัฒนา การทำฟันปลอมมาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้คนไข้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ลบจุดด้อยต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันหากว่าท่านสูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติไป และกำลังมองหาวิธีทดแทนฟันแท้ตามธรรมชาติที่สูญเสียไป ทั้งด้านความสวยงาม และการใช้งาน ต้องขอบอกเลยว่าคงไม่มีวิธีไหนที่จะดีไปกว่าการฝังรากฟันเทียมอย่างแน่นอน หากว่าทำการฝังรากฟันเทียมสำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้มาถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะคุณจะไม่สามารถแยกออกเลยว่านี่ฟันจริงหรือฟันปลอม ทั้งด้านการใช้งานและความสวยงาม
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะทำการฝังรากฟันเทียมท่านต้องเข้าใจแง่มุมของการทำวิธีนี้รวมถึงการศัลยกรรมช่องปากให้ครบถ้วน เนื่องจากการฝังรากฟันเทียมนั้นการผ่าตัดคือส่วนสำคัญในวิธีการทำ ซึ่งมีเรื่องหนึ่งที่หลายๆท่านไม่เคยทราบในการฝังรากฟันเทียมว่าในบางครั้งอาจจำเป็นต้องทำการปลูกถ่ายกระดูกในการฝังรากฟันเทียมด้วย
โดยในวันนี้ทางด้าน Clinic จะมาไขข้อสงสัยให้ท่านได้ทราบถึงหลักการปลูกถ่ายกระดูกเพื่อทำการฝังรากฟันเทียม อย่างละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นดังต่อไปนี้
โดยปกติรากฟันเทียมจะประกอบไปด้วย ส่วนฐานโลหะที่ฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อทำหน้าที่แทนรากฟัน และอีกส่วนก็คือแกนยึดซึ่งจะขันติดกับฐานโลหะ และทันตแพทย์จะทำการติดตั้งตัวฟันกับหลักยึดอีกที เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้ฟันที่สวยงามและแข็งแรงเหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ
แต่จากข้อมูลของสมาคมทันตแพทย์ รวมถึงสมาคมศัลยแพทย์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ประเทศสหรัฐอเมริกา (AAOMS) ได้พูดถึงการปลูกถ่ายกระดูก เพื่อทำการฝังรากฟันเทียมไว้ คือ หากว่าคนไข้ที่มีกระดูกขากรรไกรไม่แข็งแรง หรือ นิ่มเกินไป ก็จะทำให้กระดูกขากรรไกรไม่สามารถรองรับรากฟันเทียมได้ การผ่าตัดรากฟันเทียมก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้
จึงได้มีการทดลองการปลูกถ่ายกระดูกซึ่งก็ถือได้ว่าทำให้ประสบความสำเร็จในการฝังรากฟันเทียมเป็นอย่างมาก ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีตามคาดการณ์
โดยในขั้นตอนการปลูกถ่ายกระดูกนั้น ในอดีตศัลยแพทย์จะทำการตัดกระดูกบางส่วนออกจากร่างกายของคนไข้ แต่ในปัจจุบันได้มีวัสดุการปลูกถ่ายกระดูกชนิดพิเศษ ซึ่งถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาในปัจจุบัน หลังจากนั้นก็ทำการปลูกถ่ายกระดูกเข้าไปที่กระดูกขากรรไกร
ในการปลูกถ่ายกระดูกขากรรไกร ส่วนใหญ่จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ เมื่อทำการปลูกกระดูกลงในกระดูกขากรรไกรแล้วก็จะทำการรอให้กระดูกที่ปลูกถ่ายเข้าไปในขากรรไกรเข้าไปสร้างกระดูกใหม่ที่แข็งแรงพอที่จะพยุงรากฟันเทียมให้อยู่อย่างมั่นคงได้ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาหลายเดือนพอสมควร แต่อีกรูปแบบหนึ่งจะเป็นการปลูกถ่ายกระดูกชิ้นเล็กๆ และทำการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมในทันที
ซึ่งทั้งสองรูปแบบที่กล่าวมานั้น ทันตแพทย์ และ ศัลยแพทย์ จะปรึกษาวิเคราะห์วินิจฉัยคู่กัน เพื่อเลือกว่าจะใช้แบบไหนกับคนไข้ เพราะ ขั้นตอนการปลูกถ่ายกระดูกเพื่อรอการฝังรากฟันเทียมนั้น ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญมากๆ เพราะถ้าหากว่าการปลูกถ่ายกระดูกลงในกระดูกขากรรไกรสำเร็จ การฝังรากฟันเทียมก็จะสามารถได้ผลสำเร็จตามไปด้วย
เมื่อทำการปลูกถ่ายกระดูกลงกระดูกขากรรไกรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ถือว่าไม่ยากแล้ว เนื่องจากว่ากระดูกขากรรไกรที่แข็งแรงจะสามารถพยุงรากฟันเทียมได้อย่างแข็งแรงเช่นกัน ทันตแพทย์ก็จะทำการฝังรากฟันเทียม และติดตัวยึดฟันกับฟันในระยะเวลาต่อมาหลังจากที่รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรอย่างแข็งแรงไม่เคลื่อนที่แล้ว ซึ่งระยะเวลาหลังจากฝังรากฟันเทียมอาจจะใช้เวลา 2 – 3 เดือน จึงจะใส่ที่ยึดฟัน แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ในช่วงนี้ทันตแพทย์จะนัดคนไข้ทุกเดือนเพื่อตรวจสอบความพร้อม บางท่านอาจจะใช้ระยะเวลาแค่ 1 เดือน ก็สามารถใช่ที่ยึดฟันได้แล้ว ระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงในการพยุงรากเทียมของขากรรไกรนั่นเอง
จากที่กล่าวมาทั้งหมด หลายท่านอาจจะคิดว่าตนเองนั้นกระดูกไม่แข็งแรงกลัวที่จะไม่สามารถทำการฝังรากฟันเทียมได้ ซึ่งแท้จริงแล้วสามารถทำได้แต่ต้องทำการปลูกถ่ายกระดูกเสียก่อนนั่นเอง